คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลฯ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณี ไฟไหม้โรงงานขยะรีไซเคิล ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.03.2567
16
0
แชร์
04
มีนาคม
2567

วันนี้ (1มี.ค.67) นพ.ปกรณ์  ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี มอบหมายให้ ทีม SEhRT ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และสำรวจผู้ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากกรณีไฟไหม้โรงงานขยะรีไซเคิล พบว่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ก.พ. 67 เวลา 12.20 น. เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานขยะรีไซเคิล สายชมภู 2 ที่ตั้ง 170 ม.2 ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี  ซึ่งสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ เมื่อเวลา 21.00 น. ขณะเกิดเหตุมีผู้ประสบภัย 2 คน เป็นเพศหญิง และเด็กเล็ก อายุ 2 เดือน พักอยู่ในห้องพักมีเครื่องปรับอากาศ โรงงานมีพนักงาน 10 คน ขณะเกิดเหตุพักรับเที่ยง โดยกลับบ้านไปรับประทานอาหารเที่ยงที่บ้านทั้ง 10 คน

จากการลงพื้นที่ พบว่า โรงงานขยะรีไซเคิล ประกอบกิจการมาแล้ว 7 ปี ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตาม พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเคยเกิดเหตุเพลิงไหม้มาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อ 4 ปีที่แล้ว สาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

การไหม้ในครั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งบริเวณไฟไหม้ เป็นบริเวณที่จัดเก็บกระดาษ และพลาสติก บริเวณโดยรอบโรงงานไม่มีแหล่งน้ำสาธารณะ ระบบการจัดการน้ำชะจากการดับเพลิง พบว่า น้ำชะจากการดับเพลิงไหลลงทุ่งนาซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่

จำนวนบ้านเรือนที่อยู่ใกล้พื้นที่เกิดเหตุมี 3 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 11 คน เป็นเด็กเล็ก 2 คน (อายุ 2 เดือน และ 4 ปี) มีรีสอร์ท 10 ห้อง ระยะห่าง 200 เมตร และจากการประเมินความเสี่ยงกลุ่มเสี่ยง พบว่า ไม่ได้ผลกระทบ

การตรวจวัดคุณภาพอากาศเบื้องต้น พบการปนเปื้อนแก๊สแอมโมเนีย (NH3)  และแก๊สไขเน่า (H2S) ไม่เกินค่ามาตรฐาน โดยค่าที่ตรวจวัดได้แก่

CO  = 0 ppm

NH3  = 1 ppm

H2S  = 6 ppm

VOCs  = 0 ppm

 คำแนะนำสำหรับหน่วยงานในพื้นที่

  1. ให้สาธารณสุขอำเภอ เสนอเรื่อง การควบคุมกิจการรับซื้อของเก่าเป็นวาระพิจารณาในคณะกรรมการ พชอ. สำโรง
  2. ให้ อบต.หนองไฮ ออกข้อกำหนดท้องถิ่น เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตาม พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการประกอบกิจการให้เป็นไปตามข้อกำหนด และลดผลกระทบต่อสุขภาพ
  3. ให้ผู้ประกอบการดำเนินการปรับปรุงสถานที่ประกอบกิจการ ให้ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บขยะรีไซเคิลให้เป็นหมวดหมู่ โดยเฉพาะวัตถุที่อาจติดไฟง่าย ควรจัดเก็บให้ห่างแหล่งที่อาจเกิดประกายไฟ และมีการป้องกันอัคคีภัย

ภาพ/ข่าว : ดาริกา เพิ่มพร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน